ปราสาทพระขรรค์
ชื่อและความหมาย
เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกเช่นเดียวกับปราสาทหลังอื่นๆ (ภาษาเขมรเรียก ปราสาทเปรี๊ยะขรรค์) กล่าวกันว่าชาวบ้านเห็นอาคารหลังที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของปราสาท เป็นอาคารที่สร้างด้วยหินทราย มี 2 ชั้น ซึ่งพบเป็นครั้งแรกในศิลปะขอมสมัยบายน จินตนาการว่าเป็นที่เก็บพระแสงขรรค์ชัยศรีของพระเจ้าแผ่นดินจึงเรียกว่า ปราสาทพระขรรค์
ประวัติ
จากหลักฐานทางจารึก ปราสาทหลังนี้สร้างโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เมื่อ พ.ศ.1734 อุทิศถวายพระบิดาของพระองค์คือพระเจ้าธรณินทรวรมัน แล้วสถาปนาพระบิดาเปรียบเสมือนพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร หนึ่งในรัตนตรัยมหายาน พระบิดาแห่งพระพุทธเจ้าทั้งมวล เรียกปราสาทหลังนี้ว่า ราชัยศรี (โชภลาภแห่งชัยชนะ)
ศาสนาและความเชื่อ
เป็นศาสนสถานทางพระพุทธศาสนา นิกายมหายาน
ยุคสมัยทางศิลปะและการกำหนดอายุ
เป็นศิลปะขอมสมัยบายน กำหนดอายุราวต้นพุทธศตวรรษที่ 18 (ประมาณ 800กว่าปี)
แผนผังปราสาทพระขรรค์
ศิลปะและสถาปัตยกรรม
ปราสาทหลังนี้มีขนาดกว้างยาวประมาณ 700 x 800 เมตร มีคูน้ำและกำแพงล้อมรอบอย่างมั่นคง มีประตูทางเข้า-ออกทั้งสี่ทิศ ประตูหลักอยู่ทางด้านทิศตะวันออก ทางเข้าทั้งสี่มีเสานางเรียงปักบอกขอบเขตทางเดิน ถัดมาเป็นสะพานข้ามคูน้ำที่ล้อมรอบปราสาท ราวสะพานทำเป็นรูปเทวดาข้างหนึ่งและอสูรข้างหนึ่งกำลังยุดนาค (เหมือนหน้าประตูเมืองนครธม) ข้างๆดั้งเดิม ไม่เป็นรูปใบหน้าบุคคลสี่หน้าเหมือนอย่างซุ้มประตูศิลปสมัยบายน
ด้านทิศตะวันออกที่เป็นทางเข้าหลักอยู่ติดกับสระชัยตฏากะ(บารายระขรรค์) ที่ชขุดโดยพระเจ้าชัยว รมันที่ 7เช่นเดียวกัน บริเวณด้านในปราสาทมีอาคารที่เชื่อว่าเป็นธรรมศาลาที่พักนักเดินทางหรือคนแสวงบุญ
อ้างอิง
จาก https://www.bloggang.com/viewdiary.php.
วรรณวิภา สุเนต์ตา. (2560). ปราสาทพระขรรค์กำปงสวาย. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2560.
จาก https://www.silpa-mag.com/club/art-and-culture/article_8530.
สุภัทรดิศ ดิศกุล. ปราสาทพระขรรค์. วันที่สืบค้น 14 ตุลาคม 2560.
จาก http://www.thapra.lib.su.ac.th/supat/slide/result.php.
จาก http://www.thapra.lib.su.ac.th/supat/slide/result.php.
สรศักดิ์ จันทร์วัฒนกุล. (2551). 30 ปราสาทขอมในเมืองพระนคร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เมืองโบราณ.
trpiadvisor. ปราสาทพระขรรค์. ค้นเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2560. จาก https://th.tripadvisor.com/LocationPhoto.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น