วันจันทร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2560

โบสถ์บาโรคแห่งฟิลิปปินส์

โบสถ์บาโรคแห่งฟิลิปปินส์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โบสถ์บาโรคแห่งฟิลิปปินส์

ที่มา http://www.wikiwand.com/th

ความเป็นมา
  โบสถ์บาโรคแห่งฟิลิปินส์ ประกอบด้วยโบสถ์โรมันคาทอลิก 4 แห่งที่สร้างขึ้นระหว่างศตวรรษที่ 16-18 ในช่วงที่ฟิลิปปินส์เป็นอาณานิคมของสเปน นอกจากจะแสดงถึงการเข้ามาของศาสนาคริสต์ในหมู่เกาะของฟิลิปปินส์แล้ว ยังเป็นศูนย์กลางอำนาจในการปกครองอาณานิคมของสเปนด้วย สถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของโบสถ์ นอกจากนี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงการปรับตัวของสถาปัตยกรรมแบบสเปนหรือละตินอเมริกันกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น และมีการผสมผสานศิลปะลวดลายของจีนอีกด้วย

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โบสถ์บาโรคแห่งฟิลิปปินส์


1. โบสถ์ซานออกัสติน ในกรุงมะนิลา (San Agustin Church in Manila) 
โบสถ์ซานออกัสตินในกรุงมะนิลา เป็นโบสถ์คาทอลิกแห่งแรกที่สร้างขึ้นบนเกาะลูซอนในปี ค.ศ. 1571 (พ.ศ. 2114) ทันทีที่สเปนมีชัยเหนือมะนิลา เป็นโบสถ์ในลัทธิออกัสติน (ลัทธิของคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก ตั้งชื่อตามนักบุญออกัสตินแห่งฮิปโป ค.ศ. 354 - ค.ศ. 450) ซึ่งเป็นนิกายแรกที่ประกาศพระวจนะในประเทศฟิลิปปินส์


ลักษณะทางศิลปกรรม
   ภายในโบสถ์ซานออกุสติน มะนิลา เพดานเป็นวงโค้ง (Tunnel Vault) วาดภาพสถาปัตยกรรมลวงตาบนเพดาน (Trompe l’oeil) จิตรกรรมนี้วาดขึ้นโดยจิตรกรชาวอิตาเลี่ยนจำนวนสองคนใน ค.ศ.1875  ที่ปลายสุดของโบสถ์เป็นแท่นบูชาประดิษฐานเซนต์เจมส์ถือดาบ ซึ่งเป็นนักบุญประจำประเทศสเปน 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โบสถ์ซานอะกุสติน ในกรุงมะนิลา



2. โบสถ์ซานตามาเรีย ในซานตามาเรีย จังหวัดอิโลโกสซูร์  (Santa Maria Church in Ilocos Sur) 
โบสถ์พระแม่แห่งอัสสัมชัน (The Church of Our Lady of the Assumption) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ โบสถ์ซานตามาเรีย ในจังหวัดโลคอสซู ฟิลิปปินส์ สร้างตั้งขึ้นในปี 1765 ในที่ราบแคบ ๆ ระหว่างทะเลและเทือกเขากลางตอนของเกาะลูซอน  เป็นหนึ่งในสี่โบสถ์ยุคสเปน ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลกในชื่อ โบสถ์บาโรคแห่งฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1993 และเป็นสิ่งที่ให้ระลึกถึงสี่ศตวรรษของการปกครองของสเปน

ลักษณะทางศิลปกรรม
โบสถ์แห่งเมือง Santa Maria มีผนังด้านหน้าตามแบบบารอค โดย façade ขนาบด้วยหอคอยสองด้านและเสาอีกสองต้น แบ่งพื้นที่ออกเป็นสามส่วน ด้านบนปรากฏหน้าบันแบบบารอคที่ใช้หน้าบันวงโค้งตรงกลางขนาบด้วยหน้าบันโค้งเว้าทางด้านข้างซึ่งทำให้หน้าบันด้านบนมีความลื่นไหลแตกต่างไปจากแบบคลาสิก ที่ปลายสุดซึ่งตรงกับหอคอยขนาบข้างนั้นปรากฏการประดับถ้วยรางวัล ซึ่งทั้งหมดนี้ถือเป็นองค์ประกอบแบบบารอคด้านข้างของโบสถ์นั้นถูกค้ำยันด้วย buttress ที่หนาหนัก อันเป็นการทำให้ผนังด้านข้างของโบสถ์ทนต่อแผ่นดินไหวอันรุนแรงของฟิลิปปินส์


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โบสถ์ซานตามาเรีย



3. โบสถ์ซานอกัสติน ในปาโออาย จังหวัดอิโลโคสนอร์เต (San Agustin Church in Paoay, Ilocos Norte)
 โบสถ์เซนต์ออกัสตินในปาโออาย เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ โบสถ์ปาโออาย (Paoay Church) เป็นโบสถ์โรมันคาทอลิก สร้างจาก อิฐ หินปะการัง และไม้แปรรูป สร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ 1710 (พ.ศ. 2253) ตัวโบสถ์เป็นศิลปะผสมระหว่างแบบกอทิกและบาโรค รวมทั้งได้รับอิทธิพลของศิลปะแบบจีนและชวา
  โบสถ์เซนต์ออกัสตินในปาโออาย มีชื่อเสียงจากสถาปัตยกรรมที่เน้นคานขนาดใหญ่ที่ด้านข้างและด้านหลังของอาคาร มีหอระฆังสร้างขึ้นจากหินปะการัง ตั้งอยู่ห่างจากตัวโบสถ์ เพื่อความปลอดภัยหากเกิดแผ่นดินไหวหรือพายุไต้ฝุ่น นอกจากนี้ยังใช้หอระฆังเป็นหอสังเกตการณ์ในช่วงการปฏิวัติฟิลิปปินส์ปี ค.ศ.1896 และระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ตัวอาคารได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหวในปี ค.ศ.1865 (พ.ศ. 2048) และปี ค.ศ.1885 (พ.ศ. 2448)
ในปี ค.ศ. 2000 (พ.ศ. 2543) มีการขุดพบหลักฐานทางโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ เช่น โครงกระดูก และเครื่องปั้นดินเผาในบริเวณโบสถ์


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โบสถ์ซานอากุสติน ในปาโออาย



4. โบสถ์ซานโต โทมัส เดอ วิลลานูวา ในไมอากาโออิโลอิโล (Sto. Tomas de Villanueva Church in Miagao, Iloilo)
โบสถ์ซานโต โทมัส เดอ วิลลานูวา ในไมอากาโอ หรือ โบสถ์ไมอากาโอ เป็นสถานปฏิบัติของศริสตจักรโรมันคาทอลิก นิกายออกัสติน สร้างขึ้นในปี ค.ศ 1731 (พ.ศ. 2274) เมืองและโบสถ์ได้ถูกทำลายลงโดยการรุกรานโจรสลัดมุสลิมในปี ค.ศ 1741 (พ.ศ. 2284) และในปี 1754 (พ.ศ. 2297)  ชึ่งเป็นเหตุให้เมืองถูกสร้างขึ้นมาใหม่ในทำเลที่ปลอดภัยมากขึ้น โบสถ์ใหม่ได้สร้างขึ้นในปี ค.ศ 1787-1797 (พ.ศ. 2330-2340)
นอกจากจะเป็นสถานที่ปฏิบัติภาระกิจทางศาสนาแล้ว ยังทำหน้าที่เป็นป้อมปราการเพื่อต้านทานการรุกรานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อย่างไรก็ตามโบสถ์ได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงจากไฟไหม้สองครั้ง ในระหว่างการปฏิวัติกับสเปนในปี 1898 และในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โบสถ์ซานโต โทมัส เดอ วิลลานูวา



อ้างอิง

ราพรรณ  พูลสวัสดิ์, นัชรี  อุ่มบางตลาด. มรดกโลกในฟิลิปปินส์ 2 : โบสถ์บาโรคแห่งฟิลิปปินส์. 
                ค้นเมื่อ วัน 16 ตุลาคม 2560. จาก http://aseannotes.blogspot.com/2014/08/2.html

วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี. 2560. โบสถ์บาโรคแห่งฟิลิปปินส์. ค้นเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2560. 
                จาก https://th.wikipedia.org/wiki

เชษฐ์ ติงสัญชลี. ภายในโบสถ์ซานออกุสติน. ค้นเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2560.
               จาก http://www.sac.or.th/databases/seaarts/th.

เชษฐ์ ติงสัญชลี. ภายในโบสถ์ซานตามาเรีย. ค้นเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2560.            

โบสถ์ซานโต โทมัส เดอ วิลลานูวา ในไมอากาโออิโลอิโล.2557. ค้นเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2560. จาก http://www.thaigoodview.com/node/184939.

ป้อมปราการจักรพรรดิแห่งทังลอง-ฮานอย

ป้อมปราการจักรพรรดิแห่งทังลอง-ฮานอย

 



   ป้อมปราการหลวงทังล็อง (เวียดนามHoàng thành Thăng Longเป็นโบราณสถานที่สร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 11 โดยราชวงศ์ลี้ แสดงอิสรภาพที่มีต่อชาวจีนของชาวไดเวียด พระราชวังนี้เป็นศูนย์กลางอำนาจทางการเมืองและการศาสนามากว่า 13 ศตวรรษต่อเนื่องโดยตลอด
ความเป็นมาและความสำคัญ   ป้อมปราการจักรพรรดิแห่งทังลอง-ฮานอย (Central Sector of the Imperial Citadel of Thang Long-Hanoi) เป็นมรดกโลกด้านวัฒนธรรมของเวียดนาม พระราชวังทังลอง" (Imperial Citadel of Thang Long) ตั้งอยู่ในกรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม เป็นพระราชวังเก่าแก่อายุกว่า 1,000 ปี สร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์หลี เวียต (Ly Viet) เพื่อประกาศเอกราชของอาณาจักรด๋ายเวียต (Dai Viet) ชื่อของอาณาจักเวียดนามโบราณ ทั้งหมดถูกสร้างขึ้นทับป้อมปราการเดิมของจีนตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 7 ที่เคยเป็นศูนย์กลางการปกครองและการทหารติดต่อกันนาน 13 ศตวรรษ ลักษณะรูปแบบการก่อสร้างเหมือนป้อมปราการของจีนในสมัยศตวรรษที่ 7 ซึ่งพระราชวังทังลองสร้างบนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดง ในช่วงที่เวียดนามปกครองด้วยกษัตริย์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการปกครองของประเทศ



    สถานที่แห่งนี้เป็นพระราชวังที่สร้างขึ้นด้วยหินทั้งหมด ซึ่งเป็นสมบัติของราชวงศ์โฮ แต่ยังคงหลงเหลือโครงสร้างให้เห็นในปัจจุบัน อีกทั้งยังได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางด้านวัฒนธรรม เพราะเป็นราชวังหินแห่งเดียวที่เหลืออยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยังมีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ยาวนาน สะท้อนอารยะธรรมในเขตลุ่มแม่น้ำแดงตอนล่าง ที่ตั้งอยู่ระหว่างอิทธิพลของอาณาจักรฮั่น (จีน) และ อาณาจักรจัมปา (Champa) ทางใต้ 



ที่มา http://www.wikiwand.com/th

มรดกโลก
   ป้อมปราการหลวงทังล็องได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 34 เมื่อปี พ.ศ. 2553 ที่กรุงบราซีเลีย ประเทศบราซิล ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้
1. เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใด ๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
2. เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
3. เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ




อ้างอิง

วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี. 2556. ป้อมปราการหลวงทังลอง. ค้นเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2560. 
                จาก https://th.wikipedia.org/wik

เสถียรพงศ์ ใจเย็น. ป้อมปราการจักรพรรดิแห่งทังลอง-ฮานอย. ค้นเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2560.
                จาก http://aseannotes.blogspot.com/2014/07/4.html

ป้อมปราการจักรพรรดิแห่งทังลอง-ฮานอย. 2558. ค้นเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2560. 
                 จาก http://www.mscs.nu.ac.th/mscsv

Wikiwand. ป้อมปราปารหลวงทังลอง. ค้นเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2560. 
                   จาก http://www.wikiwand.com

วันอาทิตย์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2560

สถาปัตยกรรมมหาสถูปเจดีย์บุโรพุทโธ


สถาปัตยกรรมมหาสถูปเจดีย์บุโรพุทโธ





   สิ่งที่ทำให้วัดบุโรพุทโธดูมีมนตร์ขลัง ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เขามาดูความยิ่งใหญ่ของขนาดวัดแล้ว ยังมีสถาปัตยกรรมการตกแต่งอันสวยงาม เช่น จากหินบล็อคที่ได้รับการแกะสลัก ที่บอกเล่าเรื่องราวของพระสุตรา ที่มีฉากบรรยายถึง 1,460 ฉาก และที่น่าสนใจอีกอย่างคือจะมีชั้นของหินที่ถูกซ่อนเอาไว้บริเวณฐานของวัด ที่บอกเล่าถึงเรื่องราวที่มาของการออกแบบวัด จนกลายเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมที่หนึ่งในอินโดนีเซีย


สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศอินโดนีเซีย




    เป็นสถูปตั้งอยู่บนพีระมิดทรงขั้นบันได  มีความสูงกว่า 42 เมตรจากฐานชั้นล่าง 
บุโรพุทโธมีทั้งหมด 10 ชั้น  ซึ่งแต่ละชั้นจะมีภาพสลักนูนต่ำแสดงคติธรรมทางพุทธศาสนาด้วยทัศนคติเกี่ยวกับจักรวาลตามพุทธศาสนาและการเข้าสู่นิพพาน 6 ชั้นนับจากฐานเป็นลักษณะสี่เหลี่ยมแบบย่อมุม  คล้ายพีระมิดขั้นบันไดชั้นที่ 7 เป็นฐานวงกลมขนาดใหญ่  ขึ้นไปอีก 3 ชั้น ประดับเจดีย์ทรงระฆังโปร่งฉลุลายเป็นรูปสี่แหลี่ยมข้าวหลามตัด  ครอบองค์พระพุทธรูปองค์เล็กข้างใน 



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สถาปัตยกรรมในอินโดนีเซีย



 ส่วนนี้ มีความเชื่อกันว่าหากยื่นมือไปจนถึงและสัมผัสพระพุทธรูปภายในได้พร้อมอธิษฐานแล้วจะสมหวังและโชคดี  เจดีย์เหล่านี้มีจำนวน 72 องค์ เรียงเป็นแนวล้อมรอบสถูปของชั้นที่ 10 ซึ่งมีลักษณะเป็นฐานวงกลมใหญ่ของเจดีย์องค์ประธานสูง 150 ฟุตโดยรอบ  ชั้นบนสุดเป็นฐานวงกลมใหญ่ของเจดีย์องค์ประธาน  ตั้งอยู่กึ่งกลางของสถูป ด้วยลักษณะของเขาพระสุเมรุมาตามปรัชญาทางศาสนาที่ว่าพื้นฐานเจดีย์คือ โลกมนุษย์ที่ยังเต็มไปด้วยกิเลสตัณหา ส่วนยอดสูงสุดคือ ชั้นสรวงสวรรค์หรือนิพพานในคติความเชื่อของศานาพุทธ

 ทั้งหมดของภาพแกะสลักที่ บุโรพุทธโธ (Borobudur) แสดงให้เห็นถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า 
และเหมาะสมที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้และสร้างความเข้าใจในพระพุทธศาสนา






อ้างอิง

ASEAN 50. 2557. มรดกโลกทางวัฒนธรรมใน ASEAN. ค้นเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2560.
                  จาก http://thailand.prd.go.th/1700/ewt/aseanthai

ศิลปะของประเทศอินโดนีเซีย. 2558. ค้นเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2560.
                 จาก http://www.thaigoodview.com/node/186713?page=0,2

สถาปัตยกรรมมหาสถูปเจดีย์บุโรพุทโธ ประเทศอินโดนีเซีย. 2558. ค้นเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2560.
                 จาก http://www.thaigoodview.com/node/191031

M thai. 2557. ยอคยาการ์ต้า เปิดเส้นทางเที่ยวบนเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย. ค้นเมื่อวันที่ 29                              ตุลาคม 2560. จาก https://travel.mthai.com/world-travel/66893.html


วันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2560

จัตุรัสเมอร์เดก้า ( Merdeka Square ) มาเลเซีย


จัตุรัสเมอร์เดก้า ( Merdeka Square หรือ Dataran Merdeka)


 จตุรัสเมอร์เดก้า ( Merdeka Square หรือ Dataran Merdeka)


ที่มา http://www.mu-ku-ra.com


   จัตุรัสเมอร์เดกา ตั้งอยู่ ณ จุดบรรจบของแม่น้ำคลางกับแม่น้ำกอมบัก เป็นสถานที่แห่งประวัติศาสตร์ที่มีความหมายของชาวมาเลเซีย เพราะเป็นสถานที่จัดพิธีคืนความเป็นเอกราชให้กับเจ้าของประเทศ หลังจากตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตกนานถึง 446 ปี (พ.ศ 2054 - 2500 )  เริ่มจากประเทศโปรตุเกส ที่บุกมาทางเรือและเข้ายึด เมืองมะละกา อันเป็นเมืองท่า จากนั้นก็อยู่ภายใต้การปกครองของชาวดัทช์ และอังกฤษในเวลาต่อมา จนมาถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2500 มาเลเซียก็ได้อธิปไตยกลับคืนมาจากประเทศอังกฤษ ซึ่งธงชาติอังกฤษถูกปลดลงแล้วแทนที่ด้วยธงชาติมาเลเซีย
    


         ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ จัตุรัสเมอร์เดก้า วิกิพีเดีย



    คำว่า เมอร์เดกา” หมายถึงเอกราช จุดเด่นอยู่ที่เสาธงขนาดใหญ่สูงถึง 100 เมตร และเต็มไปด้วยอาคารในยุคอาณานิคมและกลิ่นอายของสถาปัตยกรรมอังกฤษ  



             



   ฝั่งตรงข้ามกับจัตุรัสฯ เป็นอาคารสุลต่านอับดุล ซาหมัด ซึ่งกลายเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ มาเลเซียไปแล้ว อาคารแห่งนี้เป็นสถาปัตยกรรมแบบ มูริส อินเดียผสมผสานกับศิลปะ แบบอาหรับ ตั้งตระหง่านอวดความสวยงามของตัวตึก อาคารสุลต่านอับดุลซามัด สร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2440 ตั้งชื่อตามพระนามของสุลต่านแห่งสลังงอร์ โดยใช้เป็นที่ทำการของหน่วยงานราชการในยุคที่อังกฤษเข้ามาปกครอง ปัจจุบันเป็นอาคารสำนักงานของศาลฎีกา อาคารสุลต่านอับดุลซามัค และ หอนาฬิกาสูง 40 เมตร เป็นตัวอาคารเก่าแถบ Merdeka Square ซึ่งเป็น สถาปัตยกรรมแบบมัวร์ (Moorish) ส่วนที่เป็นหอนาฬิกาสูง 40 เมตรที่มักจะเรียกกันว่าเป็น บิ๊กเบนของมาเลเซีย ส่วนด้านบนจะเป็นโดมขนาดใหญ่สีทอง อาคารนี้สร้างเมื่อเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ เพื่อใช้เป็นศูนย์บริหารอาณานิคมของอังกฤษ ปัจจุบันใช้อาคารที่ทำการของรัฐบาล

  




อ้างอิง

I'm tour. แหล่งท่องเที่ยวมาเลเซีย. ค้นเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2560. จาก https://www.iam-tour.com.

Tanasak Mukura. จัตุรัสเมอร์เดก้า ( Merdeka Square ) มาเลเซีย. ค้นเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2560. 
               จากhttp://www.mu-ku-ra.com.

สถานที่ท่องเที่ยวในอาเซียน. กัวลาลัมเปอร์. ค้นเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2560. 
                 จาก https://sites.google.com/site/funtravelaec.

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. ประเทศมาเลเซีย. ค้นเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2560. 
                 จาก https://pettbum5555.wordpress.com.





ปราสาทพระขรรค์


ปราสาทพระขรรค์




ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ปราสาทพระขรรค์ เสียมเรียบ


   
ชื่อและความหมาย

 เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกเช่นเดียวกับปราสาทหลังอื่นๆ (ภาษาเขมรเรียก ปราสาทเปรี๊ยะขรรค์) กล่าวกันว่าชาวบ้านเห็นอาคารหลังที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของปราสาท เป็นอาคารที่สร้างด้วยหินทราย มี  2 ชั้น ซึ่งพบเป็นครั้งแรกในศิลปะขอมสมัยบายน จินตนาการว่าเป็นที่เก็บพระแสงขรรค์ชัยศรีของพระเจ้าแผ่นดินจึงเรียกว่า ปราสาทพระขรรค์



รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


ประวัติ
  
จากหลักฐานทางจารึก ปราสาทหลังนี้สร้างโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เมื่อ พ.ศ.1734 อุทิศถวายพระบิดาของพระองค์คือพระเจ้าธรณินทรวรมัน แล้วสถาปนาพระบิดาเปรียบเสมือนพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร หนึ่งในรัตนตรัยมหายาน พระบิดาแห่งพระพุทธเจ้าทั้งมวล เรียกปราสาทหลังนี้ว่า ราชัยศรี (โชภลาภแห่งชัยชนะ)

ศาสนาและความเชื่อ 
  
 เป็นศาสนสถานทางพระพุทธศาสนา นิกายมหายาน

ยุคสมัยทางศิลปะและการกำหนดอายุ

 เป็นศิลปะขอมสมัยบายน กำหนดอายุราวต้นพุทธศตวรรษที่ 18 (ประมาณ 800กว่าปี)

แผนผังปราสาทพระขรรค์


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


ศิลปะและสถาปัตยกรรม

  ปราสาทหลังนี้มีขนาดกว้างยาวประมาณ 700 x 800 เมตร มีคูน้ำและกำแพงล้อมรอบอย่างมั่นคง มีประตูทางเข้า-ออกทั้งสี่ทิศ ประตูหลักอยู่ทางด้านทิศตะวันออก ทางเข้าทั้งสี่มีเสานางเรียงปักบอกขอบเขตทางเดิน ถัดมาเป็นสะพานข้ามคูน้ำที่ล้อมรอบปราสาท ราวสะพานทำเป็นรูปเทวดาข้างหนึ่งและอสูรข้างหนึ่งกำลังยุดนาค (เหมือนหน้าประตูเมืองนครธม) ข้างๆดั้งเดิม ไม่เป็นรูปใบหน้าบุคคลสี่หน้าเหมือนอย่างซุ้มประตูศิลปสมัยบายน
  ด้านทิศตะวันออกที่เป็นทางเข้าหลักอยู่ติดกับสระชัยตฏากะ(บารายระขรรค์) ที่ชขุดโดยพระเจ้าชัยว  รมันที่ 7เช่นเดียวกัน บริเวณด้านในปราสาทมีอาคารที่เชื่อว่าเป็นธรรมศาลาที่พักนักเดินทางหรือคนแสวงบุญ



รูปภาพที่เกี่ยวข้อง




ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ปราสาทพระขรรค์







อ้างอิง

ปราสาทพระขรรค์ ที่เสียมราฐกัมพูชา. BlogGang.com. ค้นเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2560.
                 จาก https://www.bloggang.com/viewdiary.php.

วรรณวิภา สุเนต์ตา. (2560). ปราสาทพระขรรค์กำปงสวาย. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2560.
                 จาก https://www.silpa-mag.com/club/art-and-culture/article_8530.

สุภัทรดิศ ดิศกุล. ปราสาทพระขรรค์. วันที่สืบค้น 14 ตุลาคม 2560.  
                   จาก http://www.thapra.lib.su.ac.th/supat/slide/result.php.

สรศักดิ์  จันทร์วัฒนกุล. (2551). 30 ปราสาทขอมในเมืองพระนคร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เมืองโบราณ.

trpiadvisor. ปราสาทพระขรรค์. ค้นเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2560. จาก https://th.tripadvisor.com/LocationPhoto.


โบสถ์บาโรคแห่งฟิลิปปินส์

โบสถ์บาโรคแห่งฟิลิปปินส์ ที่มา  http://www.wikiwand.com/th ความเป็นมา   โบสถ์บาโรคแห่งฟิลิปินส์ ประกอบด้วยโบสถ์โรมันคาทอลิ...